วันพุธ, ตุลาคม 12, 2548


มุสลิมกับสื่อ
ขณะที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่โลกชองเรากำลังพัฒนาแบบก้าวกระโดด ยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน ยุคที่เรียกได้ว่า ข้อมูลข่าวสารนั้น ได้กลายมาเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต สื่อต่างๆจึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้อย่างขาดเสียมิได้ ปัจจุบันเราสามารถรับรู้ข้อมูลจ่าวสารได้ย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ถึงความเป็นไปของโลกใบนี้ได้ แบบเกาะติดสถาณการณ์ นั่นก็เพราะว่าเรามีสื่อต่างๆที่คอยอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ,โทรทัศน์,หนังสือพิมพ์,นิตยสาร ไม่เว้นแม้แต่โทรศัพท์มือถือซึ่งในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เนตได้ นอกเหนือจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นสื่อต่างๆที่กล่าวมามันได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกๆวงการ อย่างเช่น แวดวงธุรกิจ ก็ได้ใช้สื่อในการโฆษณาแข่งขันกันด้านการตลาด แวดวงการศึกษา ก็ได้ใช้สื่อในการติดต่อรับข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่วิชาการ แวดวงบันเทิงก็ใช้สื่อในการสร้างความบันเทิงต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าทุกวงการ ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยสื่อด้วยกันทั้งนั้น "แล้วมุสลิมเราได้อะไรจากสื่อ?"
มุสลิมเราได้รับประโยชน์จากสื่อมากมายหลายอย่าง จะเห็นว่าปัจจุบันนี้เรามีสื่อเพื่อเผยแพร่อัลอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ อย่างรายการทีวีเดือนรอมฎอน หรือรายการวิทยุของสถาบันหรือองค์กรต่างๆที่ผลิตโดยมุสลิม เพื่อมุสลิมและคนต่างศาสนิกที่สนใจ เพื่อที่พวกเขาจะได้รับความรู้และความเข้าใจในอิสลามอย่างถูกต้อง เรามี website ของมุสลิม เรามีสิ่งพิมพ์ และวารสารต่างๆ และสื่อของเราที่กล่าวมานี้ก็กำลังเจริญเติบโตขึ้น และคาดว่าจะแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น
ในอดีต การเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลาม หรือการทำความเข้าใจให้มนุษยชาติรู้ถึงแก่นแท้ของอิสลามนั้น ก็ด้วยรูปแบบของการ "ดะวะฮ์" โดยการส่งผู้เผยแพร่ หรือ ฑูต ไปยังเมืองต่างๆ ทั้งก่อนที่ท่านรอซู้ล(ซอลฯ) จะพิชิตนครมักกะฮ์ และหลังจากที่นครมักกะฮ์ถูกเปิดแล้ว ก็ได้มีซอฮาบะฮ์หลายๆท่าน ได้เดินทางไปยังเมืองและแค้วนต่างๆ พวกเขาได้ไปพำนักหรือใช้ชีวิตอยู่ ณ ที่นั้นๆ เพื่อชี้แนะและบอกกล่าวกับประชาชนในเมืองนั้นๆ ถึงสิ่งที่ท่านรอซู้ล(ซอลฯ)ได้เผยแพร่และปฏิบัติตามแนวทางแห่งอัลลอฮ์ตะอาลา และในสมัยนั้น "มัสยิด"ก็ได้เป็นศูนย์รวมของวิชาการต่างๆ ซึ่งการศึกษาอิสลามในสมัยนั้น ก็ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ระหว่างผู้สอนและผู้ศึกษา สอนกันแบบ ปากต่อปาก แต่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากการพบปะ เรียนรู้จากนักวิชาการ ตามสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นมัสยิด หรือโรงเรียนแล้ว เราก็ยังสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลเหล่านั้นเพิ่มเติมได้ เพียงแ ค่ท่านนั่งอยู่ที่หน้าจอcomputer,หน้าจอโทรทัศน์หรือเปิดวิทยุฟัง หรือหยิบหนังสือมาอ่าน ท่านก็จะได้รับรู้จข้อมูลความรู้ทางด้านศาสนาโดยที่ท่านไม่ต้องก้าวออกจากบ้านแม้แต่ก้าวเดียว จึงไม่น่าแปลกใจ หากว่าเราจะได้ยินข่าวว่ามีผู้คนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เพราะได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เป็นสัจธรรมจากอินเตอร์เนต
แต่ว่า..... ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของสื่อ กลับกลายมาเป็นเครื่องมือที่ทำร้ายอิสลาม ทำลายแนวความคิดที่พวกเรายึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องอย่างร้ายกาจ ณ วันนี้ ศัตรูของอิสลามมิใช่เพียงคุกคามเราในรูปแบบของการใช้อาวุธเท่านั้น หากแต่มีวิธีการอันแยบยลที่สามารถแทรกแซงเข้าไปอยู่ในความคิด ในรูปแบบที่แฝงมากับสื่อ เป็นผลทำให้ การประพฤติ ปฏิบัติของมุสลิมนั้น ผิดเพี้ยงน ออกห่างจากหลักการที่แท้จริง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบเห็นหญิงสาว ที่คลุมศรีษะและได้ชื่อว่าเป็นมุสลิมะฮ์ แต่กลับแต่งกายโดยสวมเสื้อผ้าที่รัดรูป แสดงให้เห็นถึงส่วนสัดของร่างกาย ตามสไตล์แฟชั่นตะวันตก เราได้พบเห็นหนุ่มสาววัยรุ่นที่ยังอยู่ในเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา เดินจูงมือถือแขนกันอยู่ในศูนย์การค้า หรือแฟชั่นที่ระบาดและสร้างความทรมานให้กับตัวเองอย่างเช่นการเจาะจมูก การเจาะสะดือ การเจาะลิ้น และการสักลวดลายบนผิวหนัง หรือการเสพยาอันเนื่องมาจากการลอกเลียนพฤติกรรมของวัยรุ่นตะวันตก และอีกหลายปัญาหาที่พบเห็นกันได้ในสังคมบ้านเรา สาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ เป็นผลที่ได้รับมาจากสื่อนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หรือนิตยสารต่างๆที่วางขายอยู่ตามแผงหนังสือทั่วไป และในปัจจุบันนี้ ผู้ที่ครอบครองสื่อนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่ใครที่ไหน นั่นก็คือ "ยิว"นั่นเอง! ยิวเป็นชนชาติเล็กๆ แต่มีพลังอำนาจเกินตัว ยิวได้ครอบครองสื่อเกือบทั้งหมด อาทิ บริษัทภาพยนตร์ใน Hollywood ที่สร้างภาพยนตร์มามากมายหลายเรื่องด้วยกัน ภาพยนตร์บางเรื่องได้มีการสอดแทรกแนวความคิดที่บิดเบือน และบางเรื่องก็มีเนื้อหาที่ขัดกับหลักการศรัทธาของอิสลามอย่างชัดเจน หรือบริษัทที่ผลิตการ์ตูน ที่ลูกๆหลานๆของเราชอบดูกัน อย่างบริษัท Walt Disney ปัจจุบันนี้ก็เป็นของยิวเช่นเดียวกัน นั่นหมายความว่าศัตรุของอิสลามได้จูโจมเข้ามายังพวกเราโดยไม่ละเว้นแม้แต่เด็ก โดยใช้จินตนาการจากตัวการ์ตูนเป็นสื่อ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักข่าวใหญ่ๆระดับโลกอย่าง CNN ที่สามารถบอกเรื่องผิดให้เป็นถูก ชี้ถูกให้เป็นผิด ทำญิฮาด ให้เป็นอิรฮาบ ทำขบวนการกอบกู้ชาติให้กลายเป็นผู้ก่อการร้ายได้อย่างแนบเนียน จนชาวโลกคล้อยตาม และสื่อที่ผู้คนกล่าวถึงกันมากอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือหนังสือที่มีชื่อว่า "พลังแห่งชีวิต" หนังสือเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ที่ได้นำ ดารา ศิลปิน และผู้ที่มีชื่อเสียงมาเป็นผู้นำเสนอ และดูเหมือนว่า เป้าหมายหลักนั้น คงไม่พ้นเยาวชนและผู้ที่คล้อยตามศิลปินนั่นเอง
อัลลอฮ์(ซุบฯ)ได้สั่งห้ามมุมิน บ่าวของพระองค์ จากการที่จะไปช่วยเหลือ กิจกรรมของยิวและคริสต์ หรือยึดเอาพวกเขาเป็นแบบอย่าง พวกเขาเป็นศัตรูของอิสลาม และเป็นศัตรูของ มุสลิม อัลลอฮ์(ซุบฯ)ได้ทรงสาปแช่งพวกเขา และพระองค์ทรงดำรัสอีกว่า แท้จริงพวกเขาทั้งสอง(หมายถึงยิวและคริสต์)ต่างเกื้อกูลช่วยเหลือกัน และผู้ใดในหมู่มุสลิม ที่เห็นดีเห็นงามกับพวกเขา แน่นอน ผู้นั้นก็เป็นหนึ่งในพวกยิวและคริสต์ และอัลลอฮ์(ซุบฯ)จะไม่ทรงชี้นำแกกลุ่มชนผู้อธรรม
มุสลิมเราในยุคนี้ต้องรู้เท่าทันสื่อ หมั่นคอยติดตามความเป็นไปของโลกอยู่ตลอดเวลา มุสลิมจะต้องมีทัศนวิสัยกว้าง มองเห็นโลกอย่างถูกต้อง อย่าได้คล้อยตาม หรือเห็นชอบกับสื่อที่พยายามชักจูงจนออกนอกแนวทาง การพินิจพิเคราะห์ การใช้ความคิด ตรึกตรอง การสร้างความเข้าใจ โดยมีพื้นฐานความรู้แห่งอิสลามเป็นตัวกำหนด จะทำให้เรารู้จักสื่อได้เป็นอย่างดี
ท่านรอซู้ล(ซอลฯ)ได้มีวจนะไว้ว่า "ใครก็ตามที่ต้องการโลกดุนยานี้เขาก็ต้องรู้เรื่องดุนยา ใครก็ตามที่ต้องการโลกอาคิเราะฮ์ เขาก็ต้องรอบรู้เรื่องอาคิเราะฮ์ และใครก็ตามที่ต้องการทั้งโลกนี้และโลกหน้า เขาก็ต้องรอบรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับดุนยาและอาคิเราะฮ์เช่นเดียวกัน"
อิสลามเริ่มต้นอย่างคนแปลกหน้า และจะกลับมาอีกครั้งอย่างคนแปลกหน้า อย่างที่ท่านศาสดาเคยบอกไว้นั้น หมายถึง คนที่ปฏิบัติตามรูปแบบวของอิสลามเท่านั้น ที่จะเป็นผู้รอดพ้น ถึงแม้ว่า จะต้องกลายเป็นคนแปลกหน้าในสังคมก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่เราต้องกลับมาปฏิบัติตามรูปแบบของอิสลามอย่างแท้จริงเสียที โดยนำสื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสม อย่าให้พี่น้องของเรา ลูกหลานของเรา ต้องตกเป็นเหยื่อทางความคิด โดยน้ำมือของสื่ออันหลากหลาย ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีอำนาจพอที่จะยับยั้งมันไว้ได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถอยู่กับมันได้อย่างรู้เท่าทัน จากสิ่งที่กล่าวมานี้ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์อันมากมาย และโทษที่แอบแฝงมา คงเป็นคำตอบหนึ่งจากหลายๆคำตอบที่ทำให้ฉุกคิดได้ว่า "สื่อให้อะไรกับเรา และเราได้อะไรจากสื่อ"
เรียบเรียงและดัดแปลงจากบทความในวารสาร "อัลมิฟตาฮ์" ฉบับที่ 9 ประจำปี ฮ.ศ.1425/ พ.ศ2547

ไม่มีความคิดเห็น: