วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 27, 2548
เราทราบกันดีว่า อัลกุรอานเป็นสิ่งที่ชี้นำแก่มนุษย์ผู้ที่มีความยำเกรง ผู้ที่ยำเกรงคือใคร? ผู้ที่ยำเกรงก็คือผู้ที่ปฎิบัติตามคำบัญชาใช้ของอัลลอฮ(ซบ) อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ และห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม จึงถือได้ว่าเป็นผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์หากเราพิจารณาสำนวนโองการอัลกุรอานหลายๆโองการ ท่านจะพบว่ากุรอานได้จัดหมวดหมู่ในเรื่องราวที่กล่าวไว้ภายในออกเป็นหลายๆเรื่อง ยกตัอย่างเช่น หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการศรัทธา , ว่าด้วยเรื่องการทำอิบาดะห์ , ว่าด้วยเรื่องจริยธรรม , เรื่องการประกอบธุรกิจ และ เรื่องอื่นๆ ทั้งหมดนั้นมีการกล่าวในรูปสำนวนที่เป็นกฏและมีความหมายชัดเจน แต่เมื่อเราพิจารณา โองการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การเนรมิตโลกและจักรวาลทั้งมวลนั้น เรากลับพบรูปสำนวน วาทศิลป์ ที่สร้างความอัศจรรย์อย่างมาก ซึ่งนักวิชาการในแต่ละยุค เข้าใจและอธิบายความหมายตามความเหมาะสม กับความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นๆ และความหมายของโองการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ก็ยังมีความกว้างขวางให้มนุษย์ได้ทดลองและพิสูจน์ในทุกๆสถานที่และทุกยุคทุกสมัย อัลลอฮ์(ซบ) ทรงชี้นำมนุษย์ทั่วสากลจักรวาล เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ และมนุษย์ สามารถศึกษาค้นคว้าและพิสูจน์ได้ กระทั่งรับรุ้ได้ว่าสิ่งที่อัลลอฮ์ ตาอาลา ดำรัสไว้ในอัลกุรอานนั้นคือ สิ่งมหัศจรรย์และเป็นสิ่งชี้นำมนุษย์โองการหนึ่งในซูเราะห์ ฟุซซิลัต อายะห์ที่ 53ความว่า “ต่อไปเราจะทำให้พวกเขามองเห็นสัญลักษณ์ต่างๆของเรา ซึ่งมีอยุ่ในด้านต่างๆ(ของจักรวาล) และในตัวพวกเขาเองจนกระทั่งได้ประจักษ์ชัดแก่พวกเขาว่า แท้จริงอัลกุรอานเป็นสัจธรรม(ที่พิสูจน์ได้ในทุกสภาวะ) ยังไม่เพียงพออีกหรือที่องค์อภิบาลของเจ้าทรงเป็นสักขีพยานเหนือทุกสิ่ง”มีผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กล่าวอ้างว่า “อิสลามพยายามสอนให้อิงกับเรื่องวิทยาศาสตร์และการแพทย์” ต้องบอกเลยว่าคำพูดเช่นนี้เป็นคำพูดซึ่งออกมาจากปากผู้ที่ไม่เข้าใจอิสลาม และพยายามโจมตีอิสลามเรา มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไรที่ว่าอิสลามพยามยามสอนให้อิงกับวิทยาศาสตร์ ในเมื่อวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์นั้นมนุษย์เพิ่งจะเข้าใจเมื่อศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานี่เอง แต่ว่า อัลกุรอานถูกประทานลงมาจากอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาลมาเป็นระยะเวลามากกว่าหนึ่งพันสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยเฉพาะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกอ้างว่าเป็นทฤษฏีของพวกเขาที่คิดค้นได้เองนั้น ล้วนแล้วแต่เอาความรู้ไปจากนักวิชาการมุสลิมชาวอาหรับทั้งนั้น ครั้งที่อณาจักรอิสลามเคยเจริญรุ่งเรื่องที่สุดในยุโรป แล้วพวกเขาก็อ้างว่าเป็นความคิดของตนค้นคิดขึ้นมา
อัลลอฮ (ซบ) ทรงใช้ให้เราตรึกตรอง ใช้ให้สังเกตุสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงบันดาลมันขึ้นมาว่า มีระบบและขั้นตอนอย่างไร ซึ่งรวมถึงชีวิตของเราทุกคนด้วย ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นเพราะธรรมชาติให้มันเป็นไป แต่ว่าจริงๆสรรพสิ่งทั้งหลายได้ดำเนินไปตามระบบและกฎเกณฑ์ ซึ่งอัลลอฮ ตะอาลา ทรงวางไว้ ทรงควบคุมและดูแล กระทั่งเกิดความสมดุลย์ และเหมาะสมต่อบ่าวของพระองค์ ดังโองการใน ซูเราะห์ อัล อังกะบูต อายะห์ที่ 20ความว่า "จงประกาศเถิด พวกเจ้าทั้งหลายจงดำเนินไปในผืนแผ่นดิน แล้วจงพิจารณาว่า พระองค์ทรงบังเกิดสรรพสิ่งทั้งหลายอย่างไร”โองการที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีมากมายเกือบหนึ่งพันโองการ ซึ่งอัลลอฮ (ซบ) ทรงแจ้งเรื่องที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ ให้มนุษย์ได้รับรู้ ผมจะหยิบยกมานำเสนอบางโองการ ซึ่งบอกว่าโลกและจักรวาลทั้งมวลนั้น เกิดขึ้นด้วยการบันดาลของพระองค์อัลลอฮ(ซบ) ดังในโองการหนึ่งของซูเราะห์ อัล อะรอฟ อายะห์ที่ 54ความว่า “แท้จริง องค์อภิบาลของพวกเจ้าคืออัลลอฮ์ ซึ่งทรงบันดาลชั้นฟ้าและแผ่นดิน ในหกวัน จากนั้นพระองค์ทรงใช้อำนาจการปกครอง (สรรพสิ่ง) เหนือบัลลังก์ พระองค์ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวัน ซึ่ง กลางคืนกับกลางวัน ได้ตามติดกันอย่างรวดเร็ว และทรงสร้าง ดวงตะวัน ดวงเดือน และดวงดาว ซึ่งยอมอยู่ใต้บัญชาของพระองค์ (ให้ทุกสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์) ด้วยคำบัญชาของพระองค์ พึงสังวรเถิด พระองค์ทรงสิทธิ์ ในการบันดาลและบัญชา อัลลอฮ์ทรงจำเริญยิ่ง ทรงเป็นองค์อภิบาลโลกทั้งหลาย”จากโองการนี้เราได้รับรู้ว่า จักรวาลนี้มีผู้สร้าง ผู้บันดาลมันขึ้นมาและมีผุ้ดูแลควบคุมระบบทั้งหมด ดังนั้นเรามาศึกษาโองการอื่นๆ อีก ว่าโลกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรเรามาดูในซุเราะห์ อัล อัมบิยาอ์ อายะห์ที่30ความว่า “บรรดาพวกที่ไร้ศรัทธาไม่สังเกตหรอกหรือว่า แท้จริง ฟากฟ้าและแผ่นดิน แต่เดิมผนึกเป็นชิ้นเดียวกันต่อมาเราก็จัดการแยกมันทั้งสอง (ออกจากกัน) และเราได้บันดาลทุกสิ่งที่มีชีวิตจากน้ำ แล้วไฉนเล่าพวกเขาจึงไม่ศรัทธา”จากโองการนี้เราสังเกตได้ว่า อัลลอฮ (ซบ) ได้บอกให้เราได้ทราบว่า “ฟากฟ้าและแผ่นดินเดิมนั้นผนึกเป็นชิ้นเดียวกัน” นั่นคือก่อนที่โลกเราจะมีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้เห็นทุกวันนี้ แต่เดิมเริ่มด้วยการรวมตัวกันของวัตถุธาตุ และมวลสารต่างๆ รวมถึงกลุ่มก๊าซต่างๆ จนกระทั่งเกิดความหนาแน่น และทั้งหมดก็ได้ผนึกเป็นก้อน เดียวกัน และต่อจากนั้น พระองค์ดำรัสว่า “เราจัดการแยกมันทั้งสอง” นั่นคือเป็นช่วงระยะการแยกตัวของ วัตถุและกลุ่มก๊าซ จนเป็นหมอกเพลิง และได้กลายเป็นท้องฟ้าและแผ่นดินในที่สุด เมื่อวัตถุรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน จนกระทั่งเป็นพื้นดินแล้ว อัลลอฮ(ซบ) ก็ได้บันดาลปัจจัยต่างๆอย่างสมบูรณ์ให้แก่บ่าวของพระองค์ ให้อยู่ในแผ่นดิน ดังที่พระองค์ ได้แจ้งให้เราทราบในซูเราะห์ ฟุซซิลต อายะห์ที่ 10ความว่า “และใน(แผ่นดิน)นั้น พระองค์ทรงทำให้เทือกเขาตั้งมั่นอยู่บนมัน และทรงให้มีความจำเริญในนั้น และทรงกำหนดปัจจัยยังชีพของมันให้มีขึ้นในนั้น ภายในระยะเวลา 4 วัน เพื่อความเท่าเทียมสำหรับผู้ไต่ถาม (ที่จะได้รับสิ่งดังกล่าวไว้อำนวยความประโยชน์)”โลกเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีอยู่ในระบบสุริยะจักรวาล และในโลกนี้เองที่ อัลลอฮ(ซบ) ทรงบันดาลให้มีสรรพสิ่งต่างๆที่มีประโยชน์เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในพื้นโลก ก๊าซและธาตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำ และออกซิเจนในอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งจะพบได้ยากในดาวดวงอื่น และเหตุผลนี้เองดาวดวงอื่นจึงไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นอกจากโลกใบนี้เท่านั้น หากแต่มีผู้ปฏิเสธที่หลงผิดจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าดาวดวงอื่นมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่หรือมีมนุษย์ต่างดาวผู้มีเทคโนโลยีอันทันสมัยอาศัยอยู่ ลองพิจารณาดูเถิดหากเป็นเช่นนั้นท่านคงจะเห็นมนุษย์ต่างดาวตัวเป็นๆแวะเวียนมาเที่ยวบนโลกหรือไม่ก็คงบุกเข้ามายึดโลกไปนานแล้วเหมือนกับภาพยนต์ที่ท่านทั้งหลายเคยดูมาดังนั้นหลังจากอัลลอฮ (ซบ) บันดาลให้วัตถุธาตุทั้งหลายรวมตัวกัน ต่อมาก้อได้บันดาลสรรพสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเช่นอากาศ น้ำ และเมื่อปัจจัยต่อการดำรงค์สมบูรณ์แล้ว อัลลอฮ(ซบ) ทรงบันดาลท้องฟ้า ดังโองการในซูเราะห์ ฟุซซิลัต อายาะห์ที่11 –12ความ “ หลังจากนั้นพระองค์ทรงมุ่งสู่การบันดาลฟ้าฟ้าโดยขณะนั้นยังเป็นหมอกเพลิงอยู่ แล้วพระองค์ทรงตรัสแก่ฟ้าและแผ่นดินว่า เจ้าทั้งสองจงมาดำเนิน(ตามบัญชาของข้า)เถิด จะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม มันทั้งสองก็กล่าวว่า ข้าพระองค์ทั้งสองมาดำเนินการตามพระบัญชาอย่างเต็มใจ ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างมันสำเร็จเป็นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดในระยะเวลา 2 วัน และทรงกำหนดหน้าที่ของฟ้าทุกชั้น และได้ประดับท้องฟ้าแห่งโลกนี้ด้วยดวงดาวทั้งหลาย และคอยพิทักษ์ไว้ นั่นเป็นกำหนดแห่งพระผู้ทรงอำนาจยิ่ง ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง”สังเกตว่า อัลลอฮ (ซบ) ทรงบันดาลแผ่นดินและฟากฟ้าเสร็จตามพระประสงค์ภายในระยะเวลาหกวัน นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์แล้วว่า ระยะเวลาในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งช่วงแรกเริ่มของการกำเนิดโลกจะมีแค่สี่ชั่วโมง เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองเร็วมาก แล้วค่อยๆหมุนช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของบ่าวของพระองค์ ซึ่งอัลกุรอานได้มีระบุไว้ ว่ากลางวันและกลางคืนนั้นมันตามติดกันมาอย่างรวดเร็วถึงกระนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ถึงแก่นแท้ของความเป็นจริงตามที่อัลลอฮ์ (ซบ) ทรงโองการไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ว่าโลกนี้เกิดมาอย่างมีจุดเริ่มต้น มีระยะเวลา นี่คือลักษณะของสิ่งที่เกิดใหม่และมันย่อมที่จะมีจุดจบเมื่อปีคริสตศักราช 2001 ที่ผ่านมา องค์การ NASA ได้บันทึกภาพ จุดดับสูญดาวดวงหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปประมาณ หนึ่งพันปีแสง ด้วยกล้องTelescope จากภาพถ่ายจะเห็นการระเบิดของดาวดวงหนึ่งซึ่งการระเบิดของมันนั้นมีกลุ่มควันสีแดง พวยพุ่งออกมาจากจุดศูนย์กลาง และแผ่กระจายออกไปรอบๆ ลักษณะคล้ายกลับรูปดอกกุหลาบที่ผลิบานอยู่ซึ่งกลีบดอกของมันมีลักษณะเป็นมันประกายเนื่องจากความร้อนของไฟ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้ มนุษย์เองก็เพิ่งจะได้เห็นเมื่อไม่นานมานี้ แต่อัลลอฮ์ (ซบ) พระองค์ดำรัสแก่มนุษย์ชาติไว้แล้วเมื่อ พันสี่ร้อยปีที่ผ่านมา ถึงสภาพหนึ่งของวันกิยามะฮ์ ในอายะห์ที่ 37 ซูเราะห์ อัรเราะห์มานความว่า "ครั้นเมื่อท้องฟ้าได้แตกกระจายออก มันจะคล้ายกับกุหลาบแดงที่มีลักษณะเป็นมัน"
จากโองการนี้ แสดงถึงอำนาจ อิลมูของอัลลอฮ์ ได้เป็นอย่างดี มนุษย์ไม่สามารถที่จะรู้เรื่องใดๆเลยนอกจากพระองค์เป็นผู้สอน และชี้นำ และมนุษย์ก็ไม่รู้ถึงวันอวสานของโลกนี้ ปัจจุบันดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ก่อนที่จะถึงวันโลกาวินาศ ดวงอาทิตย์ก็จะขึ้นทางทิศตะวันตก และอัลลอฮ์ (ซบ) ทรงแจ้งถึงเหตุการณ์วันสิ้นโลกว่า มันจะเกิดขึ้นอย่างไร ดังพระองค์ได้ดำรัสไว้ใน ซุเราะห์ อัล-อัมบิยาอ์ อายะห์ที่ 104ความว่า “ วันซึ่งเราจะม้วนชั้นฟ้าให้เหมือนกระดาษที่ใช้บันทึก ดังเช่นที่เราได้ให้การเริ่มต้นในการสร้างครั้งแรก เราก็จะกลับคืนมัน (ให้ฟื้นคืนกลับมาอีก หลังจากที่พวกเขาสูญสลายไปแล้ว) เป็นสัญญาผูกพันกับเรา แท้จริงเราเป็นผู้กระทำ(ตามสัญญาเสมอ)”เมื่อวันสิ้นโลกเกิดขึ้น ทุกอย่างที่เราเห็นอยู่นี้จะแหลกสลายกลายเป็นผุยผงกลับคืนในสภาพเดิมของมัน ดังก่อนที่จะมาเป็นโลกและระบบสุริยะจักรวาลต่างๆ ก็สิ้นสลายเช่นกัน ไม่ว่าดวงดาวต่างๆ และดวงอาทิตย์ก็ถูกม้วนให้แตกสลาย ซึ่งปัจจุบันนั้นมนุษย์ก็ได้รับรู้แล้วว่า จุดดับในดวงอาทิตย์เริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ สัญญาณบ่งบอกว่าใกล้ถึงวันกิยามะห์ เข้ามาทุกที
เราท่านทั้งหลายต่างก็รู้ดีว่า ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสกับความตาย แล้วหวนกลับไปสู่พระองค์อัลลอฮ (ซบ) และจะถูกสอบสวนถึง อะมั้ลต่างๆ ที่เราได้กระทำบนโลกดุนยานี้ ทั้งที่เร้นลับ และเปิดเผย เราต้องตรวจสอบตัวเราเองก่อนที่วันสอบสวนจะมาถึง และในโลกหน้ามีอยู่สองสถานที่ เท่านั้น คือ นรก และ สวรรค์ เราจะเลือกพำนักอยู่ ณ ที่ใด เราสามารถเลือกได้ในวันนี้ หากว่าเราตายไป การกระทำที่ผ่านมาของเรา จะเลือกให้เราได้อยู่สวรรค์ หรือนรก ก็ขึ้นอยู่กับความดีที่เราสั่งสมมาในดุนยา และที่จะลืมเสียไม่ได้ นั่นคือการ เตาบัต ขออภัยโทษต่อพระองค์ และทำหน้าที่ผู้ศรัทธาต่อพระองค์ และศรัทธาต่อโลกหน้าให้สมบูรณ์ อย่างบริสุทธ์ใจ เราก็จะได้รับความปลอดภัย และความผาสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า อินชาอัลลลอฮ์
ดัดแปลงจากวารสาร"อัลมิฟตาฮ์"ฉบับที่ 9 ประจำปี ฮ.ศ. 1425 / พ.ศ. 2547
วันพุธ, ตุลาคม 19, 2548
بسم الله الرحمن الرحيم
In the name of ALLAH, the Gracious, the Merciful.
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาผู้ทรงเมตตาเสมอ
قل هو الله أحد
Say `He is ALLAH, the One !
จงกล่าวเถิด (มุฮำหมัด) พระองค์คืออัลลอฮผู้ทรงเอกะ
الله الصمد
ALLAH the Independent and Besought of all.
พระองค์นั้นเป็นที่พึ่ง
لم يلد ولم يولد
`HE begets not, nor, is HE begotten,.
พระองค์มิได้ประสูติ และพระองค์มิได้ถูกให้ประสูติ
ولم يكن له كفوا أحد
And there is none like unto HIM..
และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์
วันอังคาร, ตุลาคม 18, 2548
ระเบียบและข้อปฏิบัติเมื่อทำการดุอา
- ผู้ขอดุอาควรมีน้ำละหมาด
- ผู้ที่ขอดุอาจะต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์ต่ออัลเลาะห์ ตาอาลาอย่างแท้จริง ปราศจากการโอ้อวด หรือเจตนาไม่ดี
- ผู้ขอจะต้องรู้จักตักเตือนกันให้ทำความดี และห้ามปรามกันในเรื่องความชั่ว
- ผู้ขอดุอาจะต้องพยายามออกห่างไกลจากความชั่วต่างๆ
- การอุปโภคและบริโภคของผู้ขอดุอาและคนในครอบครัว จะต้องมาจากทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ผิดหลักการศาสนาอิสลาม
- ตั้งใจขอดุอา จิตใจจดจ่ออยู่กับการขอดุอาโดยตลอด และมีความมั่นใจว่าดุอาจะถูกตอบสนอง
- ขอลุแก่โทษหรือสำนึกผิดต่ออัลเลาะห์ตาอาลาด้วยความจริงใจก่อนการขอดุอา
- หันหน้าไปทางทิศกิบลัตขณะขอดุอา
- ยกมือทั้งสองข้างขณะขอดุอา เสร็จแล้วให้ลูบหน้า (ยกเว้นดุอากุนูต)
- สรรเสริญต่ออัลเลาะห์ และขอความเมตตา (ซอลาวาต) แด่ท่านนบี(ซ.ล.) ขณะเริ่มดุอา , คั่นกลางระหว่างดุอา และลงท้ายก่อนจบการดุอา
- ขอดุอาทั้งในยามสุขสบาย และในขณะที่มีความทุกข์ หรือประสบภัยพิบัติ
- ไม่ขอดุอาที่ไม่ดี หรือให้ร้ายแก่ตัวเอง , ครอบครัว และผู้อื่น
- ไม่ควรขอดุอามากหรือยาวจนเกินไป
- ควรขอดุอาให้แก่ตัวเองก่อน จากนั้นก็ขอให้แก่ผู้ใกล้ชิด และผู้อื่น
- จะต้องไม่เป็นการขอดุอาในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ขอดุอาด้วยเสียงที่พอดี ไม่ค่อยหรือดังจนเกินไป
- กล่าวดุอา 3 ครั้ง
- สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของอัลเลาะห์ และขอบคุณพระองค์
- มีความนอบน้อมถ่อมตน และมีสมาธิในการขอดุอา
- คืนสิ่งของที่ได้ทุจริตหรือฉ้อโกงผู้อื่นมา ขออภัยแก่ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ์และสำนึกผิดต่ออัลเลาะห์อย่างจริงใจ
- ขอดุอาโดยอาศัยสื่อต่างๆ เช่นกล่าวพระนามของอัลเลาะห์ และคุณลักษณะของพระองค์ที่สูงส่ง การกระทำดีงามที่บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ หรือขอให้คนดีมีคุณธรรมช่วยขอดุอาให้
วันจันทร์, ตุลาคม 17, 2548
ดุอาก่อนนอน
بِسْمِكَ اللّهُمَّ أَمُوْتُ وَأحْيَي*ด้วยพระนามของพระองค์ท่าน...ที่ข้าพเจ้าจะต้องตายและจะมีชีวิตอยู่ต่อไป*
بِسْمِكَ رَبِّيْ وَضَعْتُ جَنْبِيْ وَبِكَ أَرْفَعُهُ، إِنْ أَمْسَكْتُ نَفْسِيْ فَارْحَمْهَا، وَإِنْ
أَرْسَلْتَهَِا فَاحْفَظْهَا بِمَا تَحْفَظْ بِهِ عِبَادِكَ الصَّالِحِيْن
*ด้วยพระนามของพระองค์ท่าน...โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า...ข้าพเจ้าได้วางสีข้างของข้าพเจ้า และด้วยพระองค์ท่านเท่านั้นที่ข้าพเจ้าจะยกมันขึ้น หากพระองค์ท่านจะเก็บชีวิตข้าพเจ้า ขอได้โปรดให้ความเมตตามันด้วยเทอญ และหากพระองค์ท่านยังปล่อยให้มันอยู่ต่อไป ก็ขอได้โปรดรักษามันด้วยสิ่งเดียวกับที่พระองค์ท่านรักษาบรรดาบ่าวของพระองค์َที่มีคุณธรรม*
***************************
ดุอาตื่นนอน
اَلْحَمْدُ لِلّهِ الّذِيْ أَحْيَانَا بَعْدَ مَا أَمَاتَنَا وَإِلَيْهِ النُّشُورُ
*มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลเลาะห์ผู้ซึ่งให้เรามีชีวิตอยู่ หลังจากที่ให้เราตายไปแล้ว และเราทุกคนจะต้องกลับคืนสุ่พระองค์*
********************
เมื่อตกใจตื่น
أَعُوْذُ بِكَلِمَاتِ اللهِ التّامَّةِ مِنْ غَضْبِهِ وَشَرِّعِبَادِهِ وَمِنْ هَمَزَاتِ الشَّيَاطِيْنَ وَأَنْ يَحْضُرُوْن
*ข้าพเจ้าขอการปกป้องคุ้มครองด้วยดำรัสที่สมบูรณ์ของอัลเลาะห์จากความกริ้วของพระองค์ จากความชั่วร้ายของบรรดาบ่าวของพระองค์ จากมายาการต่างๆของพวกชัยฏอน จากการที่พวกมันจะมาหาข้าพเจ้า**
********************
ขอให้ฝันดี
اللّهُمَّ أَنِّيْ أَسْألُُكَ رُؤْياًصَالِحَةٍ صَادِقَةً غَيْرَكَاذِبَةٍ نَافِعَةً غَيْرَ ضَارَّةٍ
*โอ้อัลเลาะห์...ข้าพเจ้าขอวิงวอนต่อพระองค์ท่านได้โปรดให้ความฝันเป็นความฝันที่ดี ที่เป็นจริงไม่เป็นเท็จ และที่เป็นประโยชน์ไม่เป็นโทษ**
********************
เมื่อฝันร้าย
اللّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُبِكَ مِنَ الشَّيطَانِ وَسَيِّئاَتِ الأَحْلامِ
*โอ้อัลเลาะห์...ข้าพเจ้าขอการปกป้องคุ้มครองด้วยพระองค์ท่านจากชัยฏอน และจากการฝันร้าย**
********************
เมื่อสามีภรรยาจะร่วมหลับนอน
بِسْمِ اللهِ، اللهُمَّ جَنِّبْنَا الشَّيْطَانَ وَجَنِّبِ الشَّيْطَانَ مَا رَزَقْتَنَا
*ด้วยพระนามของอัลเลาะห์...โอ้อัลเลาะห์...โปรดให้พวกเราห่างไกลจากชัยฏอน และให้ชัยฏอนห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์จะประทานริสกีแก่พวกเรา**
********************
วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 13, 2548
The Second Oratory
الحمد لله رب العالمين حمدا كثيرا كما أمر وأشهدألاإله إلاالله وحده لاشريك له له الملك وله الحمد يحيي ويميت وهو علي كل شئٍ قدير
وأشهد أنّ سيدنا محمدا عبده ورسوله سيدالجن والبشرأرسله الله بالهدي ودين الحق ليظهره علي الدين كله ولوكره المشركون
اللهم صل وسلم علي عبدك ورسولك محمدٍ وعلي آله وأصحابه وأتباعه أجمعين
أمابعد:
فياأيها الناسُ اتقوا الله وأطيعوه لعلكم ترحمون فقد قال الله تعالي ياأيها الناس قد جاءتكم موعظةٌ من ربكم وشفاءٌ لما في الصدور وهدى ورحمةٌ للمؤمنينَ
إن الله وملائِكته يصلون علي النبي ياأيهاالذين آمنوا صلوا عليه وسلموا تسليما
اللهم اغفر للمسلمين والمسلمات والمؤمنين والمؤمناتِ الأحياِء منهم والأموات في الدنيا والآخرة
اللهم انصُرالإسلام والمسلمين في كل مكان ودمّر أعداءالدين وفََرّّق شَمْلَهم
اللهم ارزقنا الإخلاصَ في القول والعمل وارزقنا الصبرَ والحِلمَ والطاعةَ وارزققنا التوبةَ والمغفرةَ
اللهم آت نفوسَنا تقواها وزكِّها أنت خيرُمن زكاها أنت وليُّها ومولاها
عبادالله إن الله يأمركم بالعدل والإحسان وإيتاءذي القربي وينهي عن الفحشاء والمنكر والبغيِ يعظكم لعلكم تذكرون
การศึกษา...หนทางสู่ความสำเร็จ
ปัจจุบันนี้ เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นยุคสมัยของข้อมูลข่าวสาร เป็นยุคที่การสื่อสารไร้ขีดจำกัด เป็นยุคดิจิตอลหรือยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ล้วนเป็นผลมาจากความสามารถของมนุษย์ ในการประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยผ่านการเรียนรู้และการพัฒนามาเป็นช่วงๆ ผ่านแต่ละยุคสมัยมาจวบจนปัจจุบัน สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดจาก การศึกษาค้นคว้า มิใช่เกิดจากความบังเอิญ ดังที่ท่านนบีมุฮำหมัด ศอลฯ กล่าวไว้
" إنما العلمُ بالتعلُمِ "
ความว่า “ แท้จริงแล้วความรู้นั้นเกิดขึ้นมาด้วยกับการศึกษา “
ฉะนั้น ควรที่เราท่านจะปรับตัวให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การศึกษาคือสิ่งที่จะนำมนุษย์ไปสู่วิถีชีวิตการเป็นอยู่ที่ไม่ตกอยู่ในสภาพล้าหลัง
การศึกษาเป็นสุดยอดของสิ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา เป็นอาวุธสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่แสงสว่างในการดำเนินชีวิต เป็นแสงสว่างนำพาให้เราพ้นจากความมืดมิดแห่งความโง่เขลา ทำให้เราพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่ประสงค์ร้าย ท่านทั้งหลายคงรู้จักกับคำพูดที่ว่า “คนโง่ ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด” แต่คนฉลาดจะไม่สามารถเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องได้เลย ถ้าเขาไม่ได้ศึกษา และคนโง่ ก็จะไม่เป็นผู้ที่โง่เขลาตลอดกาล หากเขารักที่จะศึกษาและใฝ่หาความรู้
อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมากมาย ถึงกับระบุว่า การศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เป็นหน้าที่ของเราทุกคนในการที่จะแสวงหามัน ดังที่ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลฯ ได้กำชับพวกเราว่า
" طَلبُ العلِم فريضةٌ علي كل مسلمٍ ومسلمةٍ "
ความว่า “ การ แสวงหา ความรู้นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นเหนือมุสลิมชาย และมุสลิมหญิงทุกคน”
จากฮาดิษนี้ บอกไว้ชัดเจนว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ บุคคลทุกคน ทุกเพศทุกวัย และการศึกษาตามทัศนะของอิสลาม ไม่ได้จำกัดที่อายุของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ในการที่เขาจะใฝ่หาความรู้ ดังที่ท่านศาสดากล่าวไว้ว่า
" اطلبوا العلم مِنَ المهدِ إلي اللحدِ "
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงศึกษาหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมศพ”
ฮาดิษนี้ได้ยืนยันอีกครั้งว่า การศึกษาไม่มีวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก จะเป็นหนุ่มหรือสาว หรือจะเป็นคนชราที่ มีอายุเยอะแล้ว พวกเขาย่อมที่จะศึกษาหาความรู้ได้ และท่านนบีของเรายังได้กำชับให้เราศึกษา ถึงแม้ว่าความรู้นั้นจะอยู่แสนไกล
" أطلب العلم ولو با الصين "
ความว่า “ จงแสวงหาความรู้เถิด ถึงความรู้นั้นจะอยู่ถึงเมืองจีน”
ท่านนบีส่งเสริมให้ขวนขวายแสวงหาความรู้ ถึงแม้จำต้องเดินทางในดินแดนที่แสนไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งการศึกษา อัลลอฮ์ตาอาลาได้ดำรัสถึงความประเสริฐต่างๆของความรู้ ดังที่พระองค์ดำรัสถึงคำขอพรของท่านนบีมุฮำหมัด ศ็อลฯ ในโองการหนึ่งของซูเราะห์ ตอฮาว่า
قال تعالي: ربِّ زدني عاماً
ความว่า “ โอ้อัลลอฮ์ขอพระองค์เพิ่มความรู้ให้กับฉันเถิด”
และนี่ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความประเสริฐของความรู้อีกประการหนึ่ง เพราะอัลลอฮ์ไม่ได้ใช้นบีของเราแสวงหาสิ่งใดเพิ่มเติม เว้นไว้แต่ความรู้
อัลลอฮ์ตะอาลา ทรงดำรัสไว้ถึงความประเสริฐต่างๆของผู้ที่มีความรู้ไว้มากมาย ดังโองการหนึ่งที่พระองค์ดำรัสไว้ในซูเราะห์ อัลมุญาดะละห์ อายะห์ที่ 11
قوله تعالي: يرفعِ اللهُ الذينَ آمنوا منكم والذين أوتُوا العلمَ درجاتٍ
ความว่า “ อัลลอฮ์จะทรงยกย่องเทิดเกียรติแก่บรรดาผู้ที่ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ที่ได้รับความรู้นั้นหลายชั้น”
อิสลามได้ระบุถึงหนทางที่จะได้รับความรู้โดยการศึกษาตามรูปแบบต่างๆ ตามแต่ยุคสมัย ในปัจจุบันรูปแบบการศึกษามีมากมายหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ที่ศึกษาว่าจะเลือกในรูปแบบใด แต่ในวันนี้จะไม่กล่าวถึงรูปแบบการศึกษา แต่จะกล่าวถึง ปัจจัยที่เป็นตัวช่วยให้การศึกษานั้นประสบผลสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ทำให้พ้นผ่านอุปสรรค นำเราสู่จุดหมาย สู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ที่ได้รับจากการศึกษา ได้แก่
. ความตั้งใจ
ศาสนาอิสลามได้วางกฎเกณฑ์เงื่อนไขการทำความภักดีต่อพระเจ้า โดยผ่านเจตจำนงของผู้กระทำ ดังวจนะของท่านนบีว่า
" إنما الأعمال بالنيات "
ความว่า “แท้จริงบรรดาการงานต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา”
การศึกษาก็เช่นกัน ผู้ประสงค์จะศึกษาวิชาการต่างๆจะต้องตั้งเจตนาอันแน่วแน่และบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ และนอกจากนี้จะต้องตั้งเป้าหมายการศึกษาของตน นับตั้งแต่แรกเริ่ม และขณะกำลังศึกษาอยู่ กล่าวคือจะต้องรู้สติ มิใช่ศึกษาโดยปราศจากเป้าหมาย อันเปรียบเสมือนเรือที่ลอยเค้วงคว้างอยู่กลางทะเลโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะการดำเนินชีวิตลักษณะนี้จะเป็นการยากที่จะไปถึงเป้าหมาย และนอกจากนี้ผู้ศึกษาจะต้องดำรงตนให้อยู่ในหนทางที่สามารถไปถึงเป้าหมาย ดังเช่น โคลงอาหรับบทหนึ่ง เค้าบอกไว้ว่า
" ترجُوا النجاحَ ولم تسلُكْ مسالِكَها إنّ السفينةَ لاتجري علي اليَبَسِ "ِِ
“ท่านหวังที่จะประสบความสำเร็จ แต่ท่านไม่ได้เดินตามทางของมัน แท้ที่จริง เรือนั้นไม่ได้แล่นอยู่บนบก”
ต่อมาปัจจัยที่สองคือ
ความอดทน
หากเราพิจารณาประวัติของบรรดานบีที่ได้ระบุไว้ในกุรอาน เราจะพบว่าความอดทนเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่บรรดานบีใช้เป็นปัจจัยในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในอันที่จะได้มาซึ่งธรรมนูญการดำเนินชีวิตจากพระเจ้า และการใช้ความอดทนในการเผยแผ่ศาสนาต่อมวลประชาชาติ สิ่งดังกล่าวเหล่านี้จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ไม่มีกิจการงานใดที่เราจะได้มาอย่างง่ายดายโดยไม่ต้องประสบความยากลำบากและใช้ความอดทน ดังเช่นเมื่อเราใคร่ครวญพิจารณาถึงประวัติของท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม เราจะพบว่าฮิกมัตที่อัลลอฮ์ ตะอาลาให้นบีมูซาต้องรอนแรมเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาซีนาย และประสพความยากลำบาก เพื่อรับบัญญัติจากอัลลอฮ์ ฮิกมัตหนึ่งที่เห็นนั่นคือ ให้ประชาชาติรุ่นหลังได้มองเห็นถึงการที่จะต้องใช้ความอดทนเพื่อจะได้มาซึ่งบทบัญญัติของพระเจ้า และพวกเรากำลังดำเนินตามหนทางของท่านนบีมูซา และท่านอื่นๆ ดังนั้นผู้ที่ออกไปแสวงหาความรู้ เขาจะต้องนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดชี้แนะแก่สังคม ถึงแม้ว่าเขาจะต้องเผชิญกับอุปสรรคและปัญหาต่างกว่าจะได้ความรู้มานั้น จำเป็นที่เขาจะต้องอดทน
ปัจจัยที่สามได้แก่
ความขยันหมั่นเพียร
เป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ผู้มุ่งแสวงหาความรู้พึงปฏิบัติ เพราะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือความสัมฤทธิ์ผลดังที่ได้ตั้งใจเอาไว้ ความขยันหมั่นเพียรนี้จะอยู่คู่กับความอดทน เพราะเป้าหมายใดๆจะสำเร็จไม่ได้ หากปราศจากซึ่งความเพียรพยายาม และการเสียสละเวลาเพือ่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะศึกษาจากสื่อความรู้รูปแบบใดก็ตาม
ปัจจัยที่สี่ คือ
การเสียสละเวลาและความสม่ำเสมอ
โดยหลักการอิสลามแล้วเวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก ในอัลกุรอาน อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ทรงสาบานกับกาลเวลาถึงการขาดทุนของผู้ที่ไม่มีอีหม่านหรือผู้ที่ปล่อยปละละเลย โดยไม่คิดถึงคุณค่าของเวลาหรือไม่ยึดหลักการของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ในซูเราะห์ อัลอัศร์
بسم الله الرحمن الرحيم
(والعصر إن الإنسان لفي خسرِ إلاالذين آمنوا وعملواالصالحات وتواصوابالحق وتواصوا بالصبر)
ความว่า “ขอยืนยันกับกาลเวลา แท้จริงมนุษย์ตกอยู่ในความขาดทุน ยกเว้นบรรดาผู้ที่มีศรัทธาและประพฤติแต่ความดีงาม และพวกเขาตักเตือนกันในสัจธรรมและพวกเขาตักเตือนกันในเรื่องขันติธรรม”
ซูเราะห์ดังกล่าว สะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของเวลา และเล็งเห็นผลบั้นปลายของผู้ที่เฉยเมยต่อคุณค่าของเวลาที่ผ่านไป เพื่อจะได้ใคร่ครวญถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ทำให้เราตระหนักถึงหน้าที่ของเราในการมาอยู่ ณ ปัจจุบัน ดังเช่น นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก ที่ลืมการใคร่ครวญ การระลึกว่า เรากำลังอยู่ในบทบาทของผู้ที่ศึกษา ภาระหน้าที่สำคัญคือการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจควบคู่ไปกับการบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมที่อาศัยอยู่ แต่ทั้งนี้การทำประโยชน์เหล่านั้นต้องไม่ทำให้เราไขว้เขวออกจากหน้าที่หลักคือ “การศึกษา” ซึ่งการหลงลืมต่อภาระหน้าที่ดังกล่าว นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่กีดกันความสำเร็จของนักศึกษา ดังนั้นการบริหารเวลา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งในด้านบวกและลบในเวลาเดียวกัน ท่านรอซู้ล ศ็อลฯ ได้เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “อิสลามให้ความสำคัญต่อเวลา” แต่ไม่ได้ใช้ให้เราถึงกับต้องทุ่มเทเวลาทุกนาที ให้อยู่กับการทำอิบาดะห์ ถึงขั้นตัดขาดจากความเป็นจริงของการดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ท่านนบีทรงเป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิตในลักษณะผ่อนปรน นั่นคือการรู้จักให้สิทธิแก่ร่างกายในการพักผ่อนหาความสำราญ ตราบเท่าที่สิ่งเหล่านั้นไม่ทำให้เราหันเหออกจากการเป็นบ่าวที่ภักดีต่ออัลลอฮ์ตาอาลา เพราะการให้สิทธิแก่ร่างกายเป็นหลักการของอิสลาม แต่การพักผ่อน จะต้องไม่เป็นการบั่นทอนความมุ่งมั่นหรือการตั้งใจในการศึกษา
และปัจจัยสุดท้าย ก็คือ
ขอดุอาอ์เพื่อความสัมฤทธิ์ผล
อัลกุรอานและอัลฮาดีษได้กล่าวถึงภาคผลของผู้ที่อยู่ในหนทางการศึกษาไว้อย่างมากมาย เช่น การบอกกล่าวถึงลำดับขั้นความมีเกียรติของผู้ที่มีความรู้ และผลบุญที่อัลลอฮ ซุบฯ จะประทานให้แก่ผู้เรียน สิ่งดังกล่าวเหล่านี้บ่งชี้ถึงการเป็นอิบาดะห์ของภาคการศึกษา และอิบาดะห์ นั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ตะอาลา เพื่อการบรรลุผล และเป็นการมอบหมายต่อพระองค์ หลังจากที่เราได้ปฏิบัติตามคำสั่งใช้อย่างดีที่สุดแล้ว ท่านนบีมุฮำหมัด ศอลฯ ได้กล่าวว่า
" الدعاءُ مخُّ العبادة "
ความว่า “ การขอพรคือส่วนสำคัญของอิบาดะห์”
ซึ่งการขอพรต้องควบคู่ไปกับการมอบหมายทุกอย่างต่อพระเจ้าโดยดุษฏี ดังนั้นการบรรลุความสำเร็จของการศึกษาจึงประกอบไปด้วยปัจจัยที่กล่าวมานี้
อิสลามได้ย้ำถึงคุณค่าของการศึกษาไว้อย่างมากมาย และอิสลามได้ยกย่องผู้ที่มีความรู้และผู้ที่ให้ประโยชน์ในทางวิชาการ โดยมิได้ระบุเฉพาะว่า เป็นวิชาด้านใด หรือสาขาใด หากการศึกษาและการให้คุณประโยชน์นั้นอยู่บนพื้นฐานการภักดีต่อพระเจ้า มิได้เป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์ แต่การศึกษาที่เป็นหนทางไปสู่ความโปรดปรานและการใกล้ชิดต่อัลลอฮ์ที่สุด คือการศึกษาในเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ศึกษาอัลกุรอาน และอัลฮาดิษ ตามแบบฉบับของบรรดาศอฮาบะห์ ที่พวกเขาได้ศึกษาและได้รับความรู้จากท่านรอซู้ล ศอลฯ
การปลูกฝังเยาวชนให้รักการศึกษาเป็นสิ่งที่ดียิ่ง และหากลูกหลานมุสลิมเราได้รับความรู้ทั้งในด้านศาสนาและด้านวิทยาการอื่นๆควบคู่กันด้วยแล้ว ลูกหลานของเราจะเป็นมุสลิมที่มีคุณภาพ เป็นผู้ศรัทธาที่ยำเกรงและรู้เท่าทันภยันตรายที่อยู่รอบตัวพวกเขาจนกว่าพวกเขาจะกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์
และในวันพรุ่งนี้วันเสาร์ที่10 และอาทิตย์ที่11 นี้ ทางโรงเรียนมิฟตาฮุลอุลูมิดดีนิยะห์ จะจัดงานรวมน้ำใจสู่มิฟตาฮ์ เพื่อหารายได้บำรุงและส่งเสริมการศึกษา แก่บุตรหลานเยาวชนมุสลิมของเรา ภายในงานมีอาหารจำหน่าย และมีการบรรยายธรรมโดยบรรดาคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณาจารย์รุ่นใหม่ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศซึ่งพวกเขาล้วนแล้วแต่เป็นศิษย์เก่ามิฟตาฮ์ทั้งสิ้น มาร่วมชื่นชมความสามารถของพวกเขาซึ่งพวกเขาได้ดำเนินตามแบบฉบับของท่านศาสดาและเป็นคนรุ่นใหม่
ดัดแปลงจากบทความของ อ.อิลยาส มาศโอสถ และ อ.อับดุลฆอนี เด่นตี วารสาร"อัลมิฟตาฮ์" ฉบับที่ 8 ปีที่ 10 ฮ.ศ.1423 / พ.ศ. 2545
วันพุธ, ตุลาคม 12, 2548
อัลลอฮ์(ซุบฯ)ได้สั่งห้ามมุมิน บ่าวของพระองค์ จากการที่จะไปช่วยเหลือ กิจกรรมของยิวและคริสต์ หรือยึดเอาพวกเขาเป็นแบบอย่าง พวกเขาเป็นศัตรูของอิสลาม และเป็นศัตรูของ มุสลิม อัลลอฮ์(ซุบฯ)ได้ทรงสาปแช่งพวกเขา และพระองค์ทรงดำรัสอีกว่า แท้จริงพวกเขาทั้งสอง(หมายถึงยิวและคริสต์)ต่างเกื้อกูลช่วยเหลือกัน และผู้ใดในหมู่มุสลิม ที่เห็นดีเห็นงามกับพวกเขา แน่นอน ผู้นั้นก็เป็นหนึ่งในพวกยิวและคริสต์ และอัลลอฮ์(ซุบฯ)จะไม่ทรงชี้นำแกกลุ่มชนผู้อธรรม