ระเบียบและข้อปฏิบัติเมื่อทำการดุอา
- ผู้ขอดุอาควรมีน้ำละหมาด
- ผู้ที่ขอดุอาจะต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์ต่ออัลเลาะห์ ตาอาลาอย่างแท้จริง ปราศจากการโอ้อวด หรือเจตนาไม่ดี
- ผู้ขอจะต้องรู้จักตักเตือนกันให้ทำความดี และห้ามปรามกันในเรื่องความชั่ว
- ผู้ขอดุอาจะต้องพยายามออกห่างไกลจากความชั่วต่างๆ
- การอุปโภคและบริโภคของผู้ขอดุอาและคนในครอบครัว จะต้องมาจากทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ผิดหลักการศาสนาอิสลาม
- ตั้งใจขอดุอา จิตใจจดจ่ออยู่กับการขอดุอาโดยตลอด และมีความมั่นใจว่าดุอาจะถูกตอบสนอง
- ขอลุแก่โทษหรือสำนึกผิดต่ออัลเลาะห์ตาอาลาด้วยความจริงใจก่อนการขอดุอา
- หันหน้าไปทางทิศกิบลัตขณะขอดุอา
- ยกมือทั้งสองข้างขณะขอดุอา เสร็จแล้วให้ลูบหน้า (ยกเว้นดุอากุนูต)
- สรรเสริญต่ออัลเลาะห์ และขอความเมตตา (ซอลาวาต) แด่ท่านนบี(ซ.ล.) ขณะเริ่มดุอา , คั่นกลางระหว่างดุอา และลงท้ายก่อนจบการดุอา
- ขอดุอาทั้งในยามสุขสบาย และในขณะที่มีความทุกข์ หรือประสบภัยพิบัติ
- ไม่ขอดุอาที่ไม่ดี หรือให้ร้ายแก่ตัวเอง , ครอบครัว และผู้อื่น
- ไม่ควรขอดุอามากหรือยาวจนเกินไป
- ควรขอดุอาให้แก่ตัวเองก่อน จากนั้นก็ขอให้แก่ผู้ใกล้ชิด และผู้อื่น
- จะต้องไม่เป็นการขอดุอาในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ
- ขอดุอาด้วยเสียงที่พอดี ไม่ค่อยหรือดังจนเกินไป
- กล่าวดุอา 3 ครั้ง
- สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของอัลเลาะห์ และขอบคุณพระองค์
- มีความนอบน้อมถ่อมตน และมีสมาธิในการขอดุอา
- คืนสิ่งของที่ได้ทุจริตหรือฉ้อโกงผู้อื่นมา ขออภัยแก่ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ์และสำนึกผิดต่ออัลเลาะห์อย่างจริงใจ
- ขอดุอาโดยอาศัยสื่อต่างๆ เช่นกล่าวพระนามของอัลเลาะห์ และคุณลักษณะของพระองค์ที่สูงส่ง การกระทำดีงามที่บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ หรือขอให้คนดีมีคุณธรรมช่วยขอดุอาให้