กำเนิด “บ้านดอน”
หมู่บ้านหนึ่งซึ่งกล่าวถึงราวเรื่อง นามกระเดื่องเฟื่องไปไกลหนักหนา
ชื่อ “บ้านดอน” ดอนเหมือนชื่อเลื่องลือชา เที่ยวเสาะหาน้ำกินแทบสิ้นใจ
บ้านดอนนี้มิอยู่ที่สุราษฎร์ ขอประกาศตรงๆเผื่อหลงใหล
สุขุมวิทติดพร้อมพงษ์แล้วตรงไป แปดเสาไฟก็ถึงซึ่งบ้านดอน
ชนกลุ่มนี้มิอยู่เป็นหลักแหล่ง แตกแขนงจากที่หลายปีก่อน
จากตานีรี่กรุงมุ่งหวังจร สู่นครเมืองกรุงมุ่งทำกิน
พวกนี้หรือนับถือคือศาสนา อัลลอฮตะอาลาเป็นเจ้าเขาถวิล
มุฮำหมัดศาสดาคลาได้ยิน ให้ถือศีลทำละหมาดอย่าขาดกัน
ถากถางป่าในนี้มีไม่น้อย เป็นร้อยๆขึ้นไปใครขยัน
ถางได้มากเป็นของตัวชั่วนิรันดร์ ถากถางกันเข้าไปทำไร่นา
ครั้นต่อมาหลายปีมิปรากฏ น้ำมันลดดินมันแห้งแล้งหนักหนา
ต้องอพยพขึ้นเหนือเบื่อระอา สูงขึ้นมาจรดคลองต้องดวงใจ
คลองแห่งหนึ่งมีชื่อว่า “แสนแสบ” คลองมันแคบไร้ผู้อยู่อาศัย
ยุงก็ชุมรุมกัดกินแทบสิ้นใจ ใครผ่านไปยุงจะแหนบแสบทั้งตัว
ต่างทำนาเป็นหมู่กู้ฐานะ ไม่ลดละทำกันขยันทั่ว
แผ่สาขาออกไปหลายครอบครัว รู้กันทั่วชั่วคนว่า “บ้านดอน”
ฮัจยีอิรฟาน วงศ์ปถัมภ์......ผู้ประพันธ์
หมู่บ้านหนึ่งซึ่งกล่าวถึงราวเรื่อง นามกระเดื่องเฟื่องไปไกลหนักหนา
ชื่อ “บ้านดอน” ดอนเหมือนชื่อเลื่องลือชา เที่ยวเสาะหาน้ำกินแทบสิ้นใจ
บ้านดอนนี้มิอยู่ที่สุราษฎร์ ขอประกาศตรงๆเผื่อหลงใหล
สุขุมวิทติดพร้อมพงษ์แล้วตรงไป แปดเสาไฟก็ถึงซึ่งบ้านดอน
ชนกลุ่มนี้มิอยู่เป็นหลักแหล่ง แตกแขนงจากที่หลายปีก่อน
จากตานีรี่กรุงมุ่งหวังจร สู่นครเมืองกรุงมุ่งทำกิน
พวกนี้หรือนับถือคือศาสนา อัลลอฮตะอาลาเป็นเจ้าเขาถวิล
มุฮำหมัดศาสดาคลาได้ยิน ให้ถือศีลทำละหมาดอย่าขาดกัน
ถากถางป่าในนี้มีไม่น้อย เป็นร้อยๆขึ้นไปใครขยัน
ถางได้มากเป็นของตัวชั่วนิรันดร์ ถากถางกันเข้าไปทำไร่นา
ครั้นต่อมาหลายปีมิปรากฏ น้ำมันลดดินมันแห้งแล้งหนักหนา
ต้องอพยพขึ้นเหนือเบื่อระอา สูงขึ้นมาจรดคลองต้องดวงใจ
คลองแห่งหนึ่งมีชื่อว่า “แสนแสบ” คลองมันแคบไร้ผู้อยู่อาศัย
ยุงก็ชุมรุมกัดกินแทบสิ้นใจ ใครผ่านไปยุงจะแหนบแสบทั้งตัว
ต่างทำนาเป็นหมู่กู้ฐานะ ไม่ลดละทำกันขยันทั่ว
แผ่สาขาออกไปหลายครอบครัว รู้กันทั่วชั่วคนว่า “บ้านดอน”
ฮัจยีอิรฟาน วงศ์ปถัมภ์......ผู้ประพันธ์
*********************************************************
ประวัติ “บ้านดอน”
ชุมชนบ้านดอนถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2367 หรือประมาณ 170 กว่าปีมาแล้วโดยมุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดปัตตานี เข้ามาตั้งภูมิลำเนาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่แถบถนนสุขุมวิทซอย 47 (ซอยบ้านดอน) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดอน หมู่บ้านนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “บ้านดอน”
ต่อมาเมื่อมีคนมากขึ้น ความเป็นอยู่เริ่มลำบาก เนื่องจากทำเลของหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ดอน ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ การคมนาคมไม่สะดวก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันย้ายหมู่บ้านมาอยู่ริมคลองแสนแสบ ซึ่งในบริเวณนั้นมีต้นไทรใหญ่มองเห็นได้ชัด คนทั่วไปจึงหันมาเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านต้นไทร” แต่ผู้ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นคนที่ย้ายมาจากบ้านดอน จึงนิยมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านดอน” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อย้ายมาตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเริ่มดีขึ้นตามลำดับ จนทุกคนคิดตั้งหลักแหล่งเป็นการถาวร และเมื่อมีชุมชน ก็ต้องมีมันญิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ ดังนั้นมัสญิดหลังแรกในชุมชนนามว่า “ดารุ้ลมัวะฮซินีน” จึงถือกำเนิดขึ้นจากพลังความศรัทธาของทุกคน โดยมีผู้ทำหน้าที่อิหม่าม จากอดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้
1. ฮัจยีฮะ มุสตาฟา
2. ฮัจยีเซ็น หวังภักดี
3. ฮัจยีอับดุลเลาะห์ กระเดื่องเดช
4. ฮัจยีชม มุสตาฟา
5. ฮัจยีมุด มะลิ
6. ฮัจยีอุสมาน มะลิ อิหม่ามคนปัจจุบัน
ชุมชนบ้านดอนถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2367 หรือประมาณ 170 กว่าปีมาแล้วโดยมุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดปัตตานี เข้ามาตั้งภูมิลำเนาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่แถบถนนสุขุมวิทซอย 47 (ซอยบ้านดอน) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดอน หมู่บ้านนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “บ้านดอน”
ต่อมาเมื่อมีคนมากขึ้น ความเป็นอยู่เริ่มลำบาก เนื่องจากทำเลของหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ดอน ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ การคมนาคมไม่สะดวก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันย้ายหมู่บ้านมาอยู่ริมคลองแสนแสบ ซึ่งในบริเวณนั้นมีต้นไทรใหญ่มองเห็นได้ชัด คนทั่วไปจึงหันมาเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านต้นไทร” แต่ผู้ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นคนที่ย้ายมาจากบ้านดอน จึงนิยมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านดอน” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อย้ายมาตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเริ่มดีขึ้นตามลำดับ จนทุกคนคิดตั้งหลักแหล่งเป็นการถาวร และเมื่อมีชุมชน ก็ต้องมีมันญิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ ดังนั้นมัสญิดหลังแรกในชุมชนนามว่า “ดารุ้ลมัวะฮซินีน” จึงถือกำเนิดขึ้นจากพลังความศรัทธาของทุกคน โดยมีผู้ทำหน้าที่อิหม่าม จากอดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้
1. ฮัจยีฮะ มุสตาฟา
2. ฮัจยีเซ็น หวังภักดี
3. ฮัจยีอับดุลเลาะห์ กระเดื่องเดช
4. ฮัจยีชม มุสตาฟา
5. ฮัจยีมุด มะลิ
6. ฮัจยีอุสมาน มะลิ อิหม่ามคนปัจจุบัน